กล่องข้อความ: 		7-50100-001-100  		  ชื่อพื้นเมือง	:  ตีนเป็ดฝรั่ง  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Crescentia alata HBK.  ชื่อวงศ์	:  BIGNONIACEAE  ชื่อสามัญ	:  Morrito  ประโยชน์	:  ใบฝากสมาน ห้ามเลือด แก้ท้องเสีย แก้บิดเนื้อในผลรักษาโรคไต ทำให้ผมดกดำ แก้ผมร่วง

บริเวณที่พบ : สวนป่า
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ประดับ
ชื่อท้องถิ่น : ตีนเป็ด ตีนช้าง ตีนเป็ดฝรั่ง พญาสัตบรรณ
ลักษณะทั่วไป :
ไม้ยืนต้น
ต้น : “ตีนเป็ดฝรั่ง” จะมีขนาดเล็กกว่า “ตีนเป็ดไทย” มาก ลำต้นสูงแค่ประมาณ 6-10 เมตร
ใบ : เป็นใบรวม คล้ายนิ้วมือ ประกอบไปด้วย 3 ใบย่อยๆ (trifoliolate) รูปไข่ โคนใบเรียว ปลายใบมน
ดอก : ออกเป็น ดอกเดี่ยว ออกเกือบตลอดปี ออกตามลำต้นและกิ่งแก่ รูปทรงดอกจะเป็นรูปทรงกระบอกปลายกลีบดอกแหลม
และย่นมีสีแดงและชมพูอมน้ำตาลตรงส่วนโคนมีตั้งแต่สีม่วงเข้มจนถึงสีน้ำตาล และส่วนปลายมีสีเขียวอมเหลือง กลิ่นเหม็นหืน
กลีบเลี้ยง 2 กลีบ โคนติดกัน กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 4-6 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร
ผล : กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร เปลือกแข็งเกลี้ยง เมล็ดฝังอยู่ในเนื้อ
ขยายพันธุ์ : ด้วยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์ : ใบสามารถนำมาทำเป็นฝาดสมาน แก้ท้องเสีย แก้บิด ห้ามเลือดและเนื้อในผลก็รักษาโรคไต ทำให้ผมดกดำ

ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ใบ
ดอก
ลำต้น
ผล

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้      ตีนเป็ดฝรั่ง     รหัสพรรณไม้   7-50100-001-100